สีผนังเก่า ต้องทำอย่างไรกับสีปูนเก่า
ทาสีบ้าน อยากปรับปรุง บ้าน ทาสีผนังเก่า ต้องทำอย่างไรกับสีปูนเก่าจำเป็นต้องทาสี รองพื้นหรือไม่ หลายคนมัก สงสัยว่าอยากจะ ทาสีผนังเก่าที่บ้าน จำเป็นต้อง ทาสีรองพื้นปูน เก่าหรือไม่? คำตอบเบื้องต้นก็คือ ให้ดูคุณภาพสีเก่า ของเราก่อน แล้วค่อยพิจารณา ว่าควรทา หรือไม่ควรทาสีรองพื้น ทั้งนี้พูดถึง เฉพาะงาน ภายในงานสีภายนอกบ้านนั้น
มีปัญหา และข้อสังเกต เยอะกว่าสีภายใน มากทีเดียว การ ทาสี ผนังเก่า ด้วยสี ทาบ้านสมัยนี้ มีคุณภาพดี กว่าในสมัยก่อนมาก ทั้งมีคุณสมบัติ ที่เช็ดทำความสะอาด ได้ ทำให้พื้นผิว ของสีไม่ค่อย เสียหาย จึงไม่ค่อยมีปัญหา เมื่อทาสีใหม่ทับ บนสีเก่า ไม่เหมือนกับ สมัยก่อน ซึ่งเมื่อสีเก่าแล้ว ก็จะเริ่มร่อน เป็นฝุ่นผง (ส่วนหนึ่ง มาจากช่าง ทาสีที่ชอบคดโกง รับเหมา โดยผสมผงยิปซั่ม หรือปูนขาวลงไป ในเนื้อสีด้วย) จึงต้องมีสีทารองพื้นเพื่อช่วยให้ผนังห้องที่มีฝุ่นผงหลงเหลือ หลังจากทำความสะอาด เกาะกันเป็นแผ่นฟิล์ม ให้กับเนื้อสี จริงๆที่จะทาทับลง ไปอีกที
ความสำคัญ ของสีรองพื้น สำหรับสีทาบ้าน
ความสำคัญ ของสีรองพื้น สำหรับสีทาบ้าน ในปัจจุบันก็เลย น้อยลงไป ถ้าไม่พบปัญหาสีหลุด ลอก ล่อน เป็นฝุ่น ก็ไม่จำเป็น ต้องทาสีรองพื้นแต่สิ่ง ที่สำคัญมาก กว่าคือร่องรอยบน พื้นผิว เช่น รูสกรู คราบน้ำ สีพอง ที่เราต้องจัดการให้เรียบร้อยก่อน ลงมือทาสี
เราต้องสังเกต พื้นผิวของ สีเดิมว่า มีคราบน้ำ อยู่หรือไม่ มีจุดไหน ที่สีเกิดพอง ขึ้นหรือไม่ เพราะถ้ามี ต้องจัดการขูดสี ทิ้งจนถึงพื้นผิวปูน ไม่เช่นนั้นแล้ว ทาสีไปกี่ครั้งๆ ก็เป็นการทาทับ สีเก่าชั้นนอกสุด ซึ่งไม่เกาะผนังปูนเลย ทาสีรองพื้น ก็ไม่สามารถช่วยได้ จึงต้องทำความสะอาด
ควรรู้ 5 วิธีทาสีบ้านปูนเก่า
1. วางแผนงบประมาณที่ต้องใช้
ก่อนเริ่มต้น ทาสีบ้าน ไม่ว่าจะลงมือทำ ด้วยตนเอง หรือจะจ้าง ผู้เชี่ยวชาญ มาช่วยจัดการ สิ่งที่สำคัญ และต้องทำอย่างแรก เลยคือวางแผนงบประมาณที่ต้องใช้ เพราะไหนจะต้องเสียเงิน ค่าสีทาภายใน สีทาภายนอก สีรองพื้นและสีทาทับ หรือค่าจ้างช่างทาสี รู้ตัวอีกที งบอาจจะบานปลายไปไกลแล้ว อาจจะกลายเป็นว่า เราเลือกสีได้ ไม่คุ้มกับค่าเงินที่จ่ายไป ดังนั้นวางแผนการเงิน ไว้ก่อนจะช่วยให้ การทาสี บ้าน ของเราคุ้มค่า ยิ่งขึ้น
2. เตรียมพื้นผิว
สำหรับเรื่องการ เตรียมพื้นผิวนั้น ความเก่า-ใหม่ของผนังปูน เป็นสิ่งสำคัญ เพราะมีรายละเอียด และขั้นตอน การเตรียมที่ต่างกัน อย่างมาก โดยเฉพาะวิธีทาสีบ้าน ปูนเก่า โดยมีรายละเอียด ดังนี้
– ผนังปูนเก่า: ขัดล้างสีเดิม ที่เสื่อมสภาพออก บริเวณที่มีเชื้อรา หรือตะไคร่น้ำ ให้ขัดล้างด้วยน้ำสะอาด ทิ้งให้แห้ง แล้วทาด้วยน้ำยา กำจัดและยับยั้งเชื้อราและตะไคร่น้ำ โดยทาทิ้งไว้ข้ามคืน จากนั้นขัดล้างออก ด้วยน้ำให้สะอาด และทิ้งไว้ให้แห้งสนิท
– ผนังปูนใหม่: ทำความสะอาด พื้นผิวให้สะอาด ล้างคราบสกปรกต่าง ๆ ออกให้หมด แล้วทิ้งให้แห้งอย่างน้อย 30 วัน
– กรณีผนังมีรอยแตกร้าว: หากเป็นบ้านปูนเก่า ที่มีรอยแตกร้าว ขนาดใหญ่ควรทำการอุดซ่อม ให้เรียบร้อยก่อน แต่ถ้าเป็นรอยแตกลายงา เล็กน้อยสามารถทาสีปิด ทับรอยได้เลย
3. ทาสีรองพื้น
เป็นหนึ่งในขั้นตอน การเตรียมผนัง ก่อนลงสีเพื่อปรับสภาพ ความเป็นด่าง ของผนังปูน และยังเป็นตัวช่วย ให้ฟิล์มสียึดเกาะ ติดกับผนังบ้าน ได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งสีรองพื้น มีขายทั่วไป โดยแยกกันระหว่าง สีรองพื้นปูนเก่า และสีรองพื้นปูนใหม่
– ผนังปูนเก่า: ทาน้ำยารองพื้นปูนเก่า สูตรน้ำมัน เพื่อเสริมการยึดเกาะ จำนวน 1 เที่ยว ทิ้งให้แห้งอย่างน้อย 12 ชั่วโมง ก่อนทาสี ทับหน้า
– ผนังปูนใหม่: ทาสีรองพื้นปูนใหม่ จำนวน 1 เที่ยว ทิ้งให้แห้ง อย่างน้อย 30 นาที-2 ชั่วโมง ก่อนทาสี ทับหน้า
4. เตรียมอุปกรณ์ทาสี มีอะไรบ้าง
หนึ่งใน วิธีทาสีบ้านปูนเก่า ด้วยตัวเองที่สำคัญ ไม่แพ้วิธีอื่น ก็คือการเตรียมอุปกรณ์ ทาสี สิ่งที่ต้องเตรียม นอกจากสี นั่นก็คือบรรดาอุปกรณ์ ทาสีต่าง ๆ เช่น แปรงทาสี เกรียงทาสี และลูกกลิ้งทาสี รวมถึงเทปกาว ที่ใช้สำหรับกั้นพื้นที่ ที่ไม่อยากให้สีไปเลอะโดน อย่างขอบประตู หรือขอบหน้าต่าง
– ลูกกลิ้งทาสี: อุปกรณ์ สำหรับการใช้ทาสี ในพื้นที่บริเวณกว้าง ส่วนใหญ่ที่ขาย ตามท้องตลาดมี 3 ขนาด ได้แก่ ลูกกลิ้ง 4 นิ้ว, 7 นิ้ว และ 10 นิ้ว
– แปรงทาสีบ้าน: เหมาะสำหรับกับการทาสี ในพื้นที่จำกัด ในซอกมุม ที่ลูกกลิ้งไม่สามารถ ทาได้ หัวแปรงมี หลายขนาดตั้งแต่ 1-5 นิ้ว และขนแปรงมีหลายแบบ เช่น แปรงขนดอกหญ้า แปรงขนพลาสติก และแปรงขนสัตว์ โดยเราจะต้องเลือก ให้เหมาะสมกับงาน เช่น แปรงทาสี 2.5 นิ้ว จะเป็นขนาดยอดนิยม เป็นต้น
– เกรียง: เป็นเครื่องมือ สำหรับเกลี่ยพื้นที่ ให้เรียบผิวเรียบ แซะปูนเก่า เกลี่ยรอยโป๊ว ขึ้นลายสี โดยเกรียงมีหลายแบบ เช่น เกรียงสามเหลี่ยม เกรียงเกลี่ยโป๊ว และเกรียงเหล็ก BA-43 ทรงเหลี่ยม ที่เหมาะแก่การนำมาขึ้นลายสีพิเศษ เช่น สี Loft ปูนเปลือย
– เทปกาวกั้นพื้นที่: การเลือกเทปกาว เพื่อใช้ในการทาสีจะต้องดูเรื่องคราบกาว และการทนการซึม กล่าวคือเมื่อลอกออกมา จะต้องไม่ทิ้งคราบ กาวไว้ และเมื่อทาสีเนื้อ สีจะต้องไม่ซึมเข้า ไปข้างใน โดยสามารถหาซื้อตาม ร้านค้าวัสดุเกี่ยวกับการ ตกแต่งบ้านทั่วไปได้
5. ทาสีทับหน้า
เรียกว่าเป็นหัวใจหลัก ของขั้นตอนทั้งหมดเลย ก็ว่าได้ เพราะคือขั้นตอนสุดท้าย ของ วิธีทาสีบ้านปูนเก่า ของเราให้สวยใหม่ สดใส และบ่งบอกสไตล์ของผู้อาศัย ได้เป็นอย่างดี โดยการเลือกสีทับหน้า มีหลักการพิจารณาใน 5 ส่วน ได้แก่
– เฉดสีที่ต้องการ: ซึ่งจะสะท้อนบุคลิก และตัวตนของผู้อยู่อาศัย สามารถเลือกสี ที่ต้องการได้จากแคตตา ล็อกสี ตามร้านขายสีชั้นนำทั่วไป ซึ่งจะตรงกับความเป็นจริงมากกว่า การดูผ่านจอคอม หรือจอมือถือ
– สูตรสีน้ำหรือสีน้ำมัน: สีทาบ้านสูตรน้ำจะมีกลิ่นอ่อนกว่า สูตรน้ำมัน หากกังวลเรื่อง กลิ่นสีแรง ๆ ควรเลือกสูตรน้ำ จะเหมาะกว่า
– เนื้อฟิล์มแบบสีด้านหรือสีกึ่งเงา: ปกติเนื้อฟิล์มสีที่นิยมใช้ ในตลาดมีสองแบบ ได้แก่ สีแบบด้านเนื้อเนียนเรียบง่าย ไม่สะท้อนแสง และสีแบบกึ่งเงา (Semi-Gloss) ที่จะให้สไตล์โกลว์โชว์ ความหรู และเช็ดล้างได้ง่ายกว่า แบบด้าน
– คุณสมบัติพิเศษของสี: สีทาบ้านในปัจจุบัน ไม่ได้มีแค่ความสวยงาม แต่ยังเพิ่มคุณสมบัติต่าง ๆ ที่เหมาะกับการดูแลบ้านและป้องกันมลภาวะ กับผู้อาศัยได้ด้วย เช่น สีที่มีคุณสมบัติ สะท้อนความร้อน ช่วยลดค่าไฟ หรือสีที่มีคุณสมบัติช่วยฟอกอากาศ ฆ่าเชื้อโรคได้ เป็นต้น
– เกรดของสี: วัดจากอายุความทนทาน ซึ่งจะมีหลายเกรด ความทนทานเริ่มต้นตั้งแต่ 3 – 15 ปี ยิ่งเกรดสูงก็จะยิ่งมีราคาสูงกว่า
นอกเหนือจาก วิธีทาสีบ้านปูนเก่าให้สวยเหมือนใหม่แล้ว การดูแลรักษาให้สีสวยคงทนยาวนาน ก็สำคัญไม่แพ้กัน นั่นคือการใส่ใจในการเลือกสีให้เหมาะกับการใช้งาน หากเป็นสีที่ทาภายนอก ควรเลือกสีแบบเกรด A หรือ เกรด B ที่แม้จะมีราคาสูง แต่มีคุณภาพสูง ทำให้สีติดทนทานยาวนานถึง 10 ปีเลยทีเดียว
ส่วนสีทาภายในสามารถเลือกคุณภาพที่ลดลงมาได้ เพราะไม่ต้องเจอกับสภาพแวดล้อมที่ต้องทนแดดทนฝนมากนัก แต่เน้นที่สามารถเช็ดและทำความสะอาดง่ายเป็นหลัก ขณะเดียวกัน ขั้นตอนการทาสี ก็เป็นหนึ่งในเทคนิค ที่ช่วยให้สีทาบ้านติดทนได้ด้วย ตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมพื้นผิว ของผนังปูนเก่าให้สะอาด ไม่มีฝุ่นละออง ไขมัน และความชื้น หากมีรอบแตก ก็ควรซ่อมแซมและปิดให้เรียบสนิท
นอกจากนี้ควรทาสีทับประมาณ 2-3 ชั้น เพื่อให้สีเนียนเรียบ สวยงาม แต่ไม่ควรทาเกิน 5 ชั้น เพราะจะทำให้ชั้นสีหนาเกินไป ทำให้สีหลุดลอกง่ายและทนทาน น้อยกว่าการทาเพียง 2-3 ชั้นด้วยวิธีเหล่านี้ จะทำให้คนที่เลือกลงมือ ทาสีบ้านเองรู้ขั้นตอนและวิธีทาสีบ้านปูนเก่าได้อย่างประหยัดและคุ้มค่า ส่วนผู้ที่ตัดสินใจจ้างช่างทาสี โดยเฉพาะก็จะรู้รายละเอียด แต่ละขั้นตอน เพื่อให้สามารถดูแล และควบคุมค่า ใช้จ่ายให้ไม่บานปลายได้ นั่นเอง