บ้านอินเดีย P House บังกาลอร์
บ้านอินเดีย P House บังกาลอร์ จะเป็นอย่างไรหากเราเปลี่ยนผนังบ้านที่มีหน้าต่างทรงสี่เหลี่ยมแบบเดิม ๆ ให้กลายเป็นบ้านที่มีเปลือกอาคารเท่ ๆ ดูสดใส จาก แผ่นเหล็กเจาะรู ทำสีฟ้าพาสเทล ซึ่งให้ทั้งความแข็งแรงและปลอดภัย ไปพร้อม ๆ กับช่วยเพิ่มความปลอดโปร่งให้บ้านหายใจได้JP House หลังนี้ ตั้งอยู่ในเมืองบังกาลอร์ ประเทศอินเดีย มีลักษณะเป็นอพาร์ตเมนต์ 2 ห้อง เชื่อมติดกัน สร้างขึ้นบนพื้นที่ขนาด 180 ตารางเมตร แบ่งเป็น 3 ชั้น สำหรับใช้เป็นพื้นที่อยู่อาศัย ทำงาน และห้องสตูดิโอวาดภาพและทำเพลง ขณะที่ชั้นล่างเป็นที่อยู่อาศัยของพ่อแม่ผู้สูงอายุแต่เนื่องจากหน้าบ้านต้องหันออกสู่ถนน ซึ่งอยู่ตรงกับทิศตะวันออกแบบพอดี สถาปนิกจาก Kumar La Noce บ้านสวยๆหรูๆ
จึงออกแบบเปลือกอาคารด้วยแผงเหล็กแผ่นเจาะรูที่เปิด-ปิดได้ เพื่อช่วยกรองแสงแดดไม่ให้ส่องมายังพื้นที่ภายในบ้านโดยตรง จนกลายเป็นองค์ประกอบช่วยสร้างภาพลักษณ์ให้บ้านดูสวยงามแตกต่างไปจากอาคารทั่วไป พร้อมกันนั้นยังมีความแข็งแรง และสามารถเชื่อมมุมมองและมีปฏิสัมพันธ์กับบรรยากาศภายนอกได้การตกแต่งภายในของบ้านเน้นทำผนังสีขาว ผสมผสานกับซีเมนต์ขัดมัน และไม้แบบมินิมอล ยกเว้นพื้นที่ที่ต้องการสร้างความโดดเด่นอย่าง บันไดสีฟ้า ที่ค่อย ๆ พาไต่ระดับขึ้นไปยังชั้นต่าง ๆ ของบ้าน โดยพื้นที่ชั้น 2 โซนด้านหน้าออกแบบให้เป็นครัว และพื้นที่ห้องนั่งเล่นแบบดับเบิ้ลสเปซ เพื่อให้สามารถเปิดแผงเปลือกอาคารเหล็กที่คั่นด้วยระเบียงออกได้จนสุด สำหรับช่วยระบายอากาศให้ปลอดโปร่งได้ทั้งวัน แบบบ้านแฝด
เช่นเดียวกับชั้น 3 บนสุดของบ้าน ซึ่งเป็นพื้นที่สตูดิโอทำเพลงและวาดภาพขณะที่ห้องนอนของเจ้าของบ้านที่ต้องการความเป็นส่วนตัว ได้ถูกขยับให้ไปอยู่ในโซนด้านหลังแทน ระหว่างห้องสตูดิโอนี้จะมีประตูกระจกบานเลื่อน นำไปสู่บันไดสำหรับเดินขึ้นไปยังระเบียงดาดฟ้า ซึ่งเป็นพื้นที่จัดกิจกรรมเวิร์กชอป และนั่งเล่นด้านความพิเศษของเหล็กแผ่นเจาะรู
ที่กลายเป็นวัสดุเด่นให้แก่บ้านหลังนี้ สถาปนิกมองว่า เป็นวัสดุที่หาง่าย แถมยังช่วยสร้างลวดลายและเส้นสายให้แก่บ้าน นอกจากนี้ยังซ่อนนัยที่ซับซ้อนอย่างการช่วยสร้างบรรยากาศให้อาคารดูโปร่งเบา มีฟังก์ชันใช้สอยที่เป็นมากกว่าแค่ผนังบ้าน เปลี่ยนจากบ้านที่เคยเปิดช่องแสงได้เฉพาะด้านหน้ากับด้านหลังได้เท่านั้น เนื่องจากถูกขนาบข้างด้วยบ้านเรือนของเพื่อนบ้าน ให้สามารถมีบรรยากาศที่สว่างและปลอดโปร่งขึ้นได้จากแสงและลมธรรมชาติ จึงช่วยประหยัดพลังงานไปในตัว สำหรับแนวทางของผู้ออกแบบ ที่นี่จึงเข้าใกล้กรอบของการทำงาน ที่ต้องการสร้างบ้านให้น่าอยู่ และยั่งยืนไปในเวลาเดียวกัน พูลวิลล่าภูเก็ต
บ้านอิฐ สะท้อนรสนิยมและบุคลิกภาพของเจ้าของบ้าน
เกิดขึ้นจากการคำนึงถึงทิศทางของแสงแดด และสภาพอากาศของประเทศอินเดียรูปทรงของ บ้านอิฐ หลังนี้ ถูกกำหนดโดยขนาดของที่ดิน ทำให้โครงสร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส โดยยังคงมีพื้นที่ว่างรอบ ๆ ตัวบ้านอย่างเหลือเฟือ ดูแล้วเหมือนที่นี่จะเพอร์เฟ็กต์ จนแทบไม่มีปัญหาใด ๆ ให้ต้องแก้ไข แต่แท้จริงแล้วบ้านนี้มีปัญหาใหญ่ นั่นคือส่วนของหน้าบ้านที่หันไปทางทิศใต้ซึ่งมีแสงจ้า ดังนั้นเพื่อขจัดปัญหานี้ ผนังด้านดังกล่าวจึงถูกสร้างเกราะกำบังขึ้นด้วยเปลือกอาคารอิฐที่มีแพตเทิร์นสวยงามยาวต่อเนื่อง
เกือบตลอดตัวอาคาร ทำหน้าที่เป็นผนังชั้นนอกช่วยกรองแสง และพรางสายตาจากผู้คนที่สัญจรผ่านไปมาขณะที่ผนังอาคารอีกด้านที่ไม่กระทบกับแดดโดยตรงนั้น เลือกกรุเปลือกอาคารด้วยอิฐลายดอกไม้ มีระเบียงเล็ก ๆ เป็นกันชนอยู่ระหว่างพื้นที่พักอาศัยชั้นใน เพื่อไม่ให้แสงแดดและความร้อนปะทะเข้ามาตรง ๆ แต่ลมยังคงพัดผ่านเข้ามาได้ ช่วยให้อากาศภายในบ้านหมุนเวียนถ่ายเทได้สะดวกแต่ในเมื่อบ้านถูกปิดล้อมด้วยเปลือกอาคารอิฐ แสงสว่างดูเป็นสิ่งที่ทำให้หลายคนวิตกว่าอาจไม่เพียงพอ พูลวิลล่าภูเก็ต
สถาปนิกจึงเรียกแสงด้วยวิธีทำช่องหลังคาสกายไลท์ไว้ด้านบนโถงกลางบ้าน ซึ่งเป็นมุมรับประทานอาหารและพักผ่อน เพื่อให้แสงสว่างส่องมายังพื้นที่ชั้นล่างนี้ โดยมีต้นไม้ในบ้านช่วยเพิ่มความสดชื่น ให้ความรู้สึกสบายและปลอดโปร่งตลอดทั้งวันส่วนงานออกแบบตกแต่ง สถาปนิกยังคงเลือกใช้วัสดุธรรมชาติที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น โดยเฉพาะกระเบื้องหินขัดที่นำมาปูพื้น เพื่อกำหนดพื้นที่ใช้งานฟังก์ชันต่าง ๆ เช่น พื้นที่รับประทานอาหาร แม้แต่เฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งก็ได้รับการคัดเลือกมาอย่างดี เข้ากับสุนทรียศาสตร์ของอินเดีย เช่น โคมไฟที่แขวนอยู่เหนือคอร์ตกลางบ้าน ชิงช้าไม้ เตียงนอน ฯลฯ townhouse