สร้างบ้านปูนหลักหมื่น

สร้างบ้านปูนหลักหมื่น

สร้างบ้านปูนหลักหมื่น บ้านโมเดิร์นปูนเปลือยดิบ ขนาดเล็กกะทัดรัด 

สร้างบ้านปูนหลักหมื่น

สร้างบ้านปูนหลักหมื่น บ้านโมเดิร์นปูนเปลือยดิบ ขนาดเล็กกะทัดรัด  สำหรับการ สร้างบ้านปูนหลักหมื่น เพื่ออยู่อาศัยนับว่าเป็นความฝัน  ของคนส่วนใหญ่เลยทีเดียว ซึ่งก่อนการตัดสินใจ สร้างบ้าน เจ้าของ ควรเตรียม ความพร้อมในเรื่องต่างๆ เพื่อให้เห็นภาพรวมของบ้าน ทั้งหลังก่อนจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างซึ่งการเตรียมความพร้อมนี้ จะช่วยให้เราได้บ้านแบบ ที่อยากได้ ทำให้การก่อสร้าง เป็นไปอย่างราบรื่น และการสร้างบ้านเสร็จ ลุล่วงตามเวลาแผนที่กำหนดไว้ ซึ่งเรื่องต่างๆ ที่เจ้าของบ้านใหม่ ควรคำนึงถึง-ไม่ควรมองข้าม มีอะไรบ้าง

มี 10 ข้อควรรู้ก่อนเริ่มสร้างบ้าน มีอะไรบ้าง? ควรดูอะไรบ้าง?

1. การดูทำเลที่ตั้ง ดูที่ดินสำหรับปลูกสร้าง

ซึ่งการเลือกทำเลที่ตั้งในการปลูกบ้าน ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญมาก ในเรื่องของการสร้างบ้าน เจ้าของบ้านควรคำนึงถึงความสะดวกสบายหลังจาก ที่สร้างบ้านเสร็จแล้ว สิ่งอำนวยความสะดวก เมื่อเจ้าของบ้านเข้าอยู่อาศัยแล้ว เช่น การเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะ การเดินทางไปที่ทำงาน การเดินทางไปสถานที่สำคัญต่างๆ และความปลอดภัย ของย่านทำเลที่อยู่อาศัย รวมถึงเส้นทางในการเดินทางเข้า-ออกจากบ้าน (ควรมีมากกว่า 1 เส้นทาง)

2. การดูระดับความสูงของพื้นที่ ต้องถมดินหรือไม่

สำหรับต้องถมดิน เพิ่มระดับความสูงหรือไม่ เป็นคำถามยอดฮิต ก่อนการสร้างบ้านเลยทีเดียว บางคนบอก 50 ซม. บ้างก็ว่า 30 ซม. ซึ่งที่จริงแล้ว ไม่มีข้อกำหนดแน่นอน การถมดินเพื่อสร้างบ้าน ควรถมดินหรือไม่ ควรถมเท่าไหร่ ให้ดูที่ระดับพื้นถนนหน้าบ้านเรา ซึ่งบริเวณบ้านที่จะทำการก่อสร้าง ควรสูงกว่าระดับถนน 50 ซม. ขึ้นไป (ถ้าถนนหน้าบ้านเป็นดินแดง ลูกรัง ควรถมดินให้สูงกว่าระดับถนนหน้าบ้าน 1 เมตร เพื่อรองรับการทำถนนใหม่ในอนาคต) แต่ถ้าบริเวณก่อสร้างมีน้ำท่วมถึง ก็ให้ดูร่องรอยน้ำท่วม แล้วถมดินให้สูงกว่ารอยน้ำท่วม 50 ซม. ขึ้นไป

3. การดูทิศทางแดด ทิศทางลม และดูแปลนบ้าน

สำหรับทิศทางแดดและทิศทางลม เป็นสิ่งที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งการวางตำแหน่ง แปลนบ้านที่ดี จะช่วยให้ผู้ที่อยู่อาศัยในบ้าน มีความสะดวกสบาย ลดการใช้พลังงานไฟฟ้า ลมพัดเข้า-ออกเย็นสบาย โดยทิศทางแสงแดด จะวิ่งเป็นแนวตะวันออกไปทางทิศใต้ แล้วสิ้นสุด ที่ทิศตะวันตก เหมาะสำหรับห้อง ที่สมาชิกในบ้านไม่ได้ ใช้เวลาอยู่นานนัก หรือห้องที่ต้องการแสงแดด เพื่อลดความชื้น เช่น ห้องน้ำ ห้องครัว หรือพื้นที่ซักล้าง

ส่วนทิศเหนือควรเป็นห้องนอน  เพราะเป็นพื้นที่ ที่ไม่ถูกรบกวน จากแสงแดดมากนัก หรือจะใช้เป็นห้องนั่งเล่นก็ได้
ส่วนในเรื่องของทิศทางลม บ้านที่ดีควรหันด้านยาว ของตัวบ้านเข้าหาลม เพื่อเพิ่มพื้นที่การรับลมธรรมชาติ เข้าบ้าน(ลมจะเข้าทางหน้าต่างด้านข้างของตัวบ้าน) ซึ่งจะช่วยระบาย ความร้อนภายในบ้านได้ดี อีกทั้งยังเป็นการช่วยลดการใช้พลังง านจากเครื่องปรับอากาศภายในตัวบ้านได้ อีกด้วย

4. การดูทิศทางการวางบันได

ทิศทางในการวางบันใด การหันบันมดในตัวบ้าน ไม่แนะนำให้หันบันได ไปทางทิศตะวันตก เนื่องจากทิศตะวันตก เป็นทิศที่มีแสงแดดตอนบ่ายค่อนข้างแรง อาจทำให้บันใดร้อนมาก ไปหรือแสงแดดจ้าอาจจะส่องตา ทำให้เจ้าของบ้านแสบตา จนอาจเกิดอุบัติเหตุได้ แต่ถ้าจำเป็นต้องวางในทิศตะวันตก ก็ไม่ควรให้ผนังด้านที่บันได มุ่งไปหานั้นมีแสงแดดส่องผ่านมาได้ โดยอาจเปลี่ยนเป็นการนำแสงแดดธรรมชาติ ลงมาจากด้านบนเพดาน แทนก็ได้

5. ดูความสูงของเพดาน (ความสูงภายในบ้าน)

ซึ่งความสูงของเพดานก็สำคัญ ถ้าเราออกแบบให้เตี้ยไป-เวลาอยู่อาศัยจะรู้สึกอึดอัดได้ ถ้าเราออกแบบให้สูงไปก็จะโคร่งๆ เปลืองพลังงานจากเครื่องปรับอากาศ เราควรจะเผื่อความสูงฝ้าเพดานไว้เท่าไหร่ดี? โดยปกติความสูงฝ้าโดยทั่วไป (วัดจากระดับพื้นถึงท้องฝ้า) ควรจะสูงไม่น้อยกว่า 2.40 เมตร ซึ่งเป็นความสูงที่กำลังสบายไม่อึดอัดหรือรู้สึกโดนกดทับ และประหยัดค่ากระเบื้องได้อีกด้วย คือ ปัจจุบันวัสดุกรุผนังส่วนใหญ่จะทำออกมาที่ตัวเลขรวมได้ 2.40 พอดี ยกตัวอย่างเช่น กระเบื้องขนาด 30 x 30 ซม. หากปู 8 แถว ก็จะได้ความสูง 8 x 30 = 2.40 เมตร พอดี ทำให้กระเบื้องไม่เหลือเศษทิ้งให้เสียของ และหากต้องกรุในปริมาณมากๆ ก็ช่วยลดงบประมาณในการซื้อวัสดุกรุผนังลงได้เช่นกัน

6. ดูจำนวนสมาชิก จำนวนผู้พักอาศัยในบ้าน

สำหรับสมาชิกในบ้าน วิลล่าภูเก็ตที่ขาย ต่างเพศ ต่างวัย ย่อมมีความต้องการพื้นฐานที่แตกต่างกัน จำนวนสมาชิกและความต้องการของผู้อยู่อาศัยในบ้าน มีผลต่อการออกแบบบ้านอย่างมากต่อ การออกแบบ จำนวนชั้น การจัดสรรพื้นที่ใช้สอย การกั้นห้อง และการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์การก่อสร้าง

โดยความต้องการใช้บ้านนั้น ควรมองทั้งความต้องการส่วนตัวของสมาชิกแต่ละคน ความต้องการโดยรวมเรื่องสไตล์บ้านและแนวคิดเรื่องบ้านที่ต้องการ เช่น บ้านเพื่อผู้สูงอายุ บ้านสำหรับครอบครัวใหญ่  บ้านประหยัดพลังงาน เพื่อให้การออกแบบบ้านและการสร้างบ้านนั้น เอื้อประโยชน์ต่อการพักอาศัยและตอบโจทย์ทุกความต้องการมากที่สุด

7. ดูงบประมาณที่ใช้การสร้างบ้าน

สำหรับงบประมาณการสร้างบ้าน คือ ปัจจัยสำคัญอีกข้อหนึ่งในการตัดสินใจ สร้างบ้านหรือเลือกผู้รับสร้างบ้าน การตั้งงบประมาณไว้อย่างรอบคอบ และรัดกุม จะช่วยไม่เกิดปัญหางบบานปลายภายหลัง เจ้าของบ้านจะได้บ้านที่ตอบโจทย์มากที่สุด และทำให้เจ้าของบ้านมีคำตอบที่ชัดเจนในการเลือกวัสดุที่ใช้ในการสร้างบ้าน และง่ายต่อการตัดสินใจสร้างบ้าน การเลือกแบบ วิธีการสร้าง ขนาดพื้นที่

8. ดูช่วงเวลาและขั้นตอนการสร้างบ้าน

ซึ่งการกำหนดระยะเวลา ของการสร้างบ้านที่เหมาะสม ดูลมฟ้าอากาศให้รอบคอบ จะช่วยให้สามารถวางแผนล่วงหน้าในงานก่อสร้างขั้นตอนต่างๆ ได้อย่างชัดเจน ไม่มีปัญหาระหว่างการก่อสร้าง เพราะ หากระยะเวลาก่อสร้างนานเกินไปหรือยืดเยื้อ ช่วงเวลาการทำงานไม่เป็นระบบ ไม่รู้ขอบเขตงานที่แน่นอน อาจมีปัจจัยอื่นที่ก่อให้เกิดปัญหาลากยาวไม่สิ้นสุดตามมา เช่น ฤดูกาลทำให้บางขั้นตอนของงานสร้างใช้เวลามากกว่าปกติ การดำเนินการด้านเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการสร้างบ้านไม่รองรับขั้นตอนการดำเนินงาน รวมถึงการ เตรียมงบประมาณ สำหรับจ่ายในขั้นตอนต่างๆ อาจจะมีปัญหาได้pool villas

ขั้นตอนในการสร้างบ้าน โดยทั่วไป แบ่งออกเป็นขั้นตอนใหญ่ๆ ดังนี้

  • ขั้นตอนที่ 1 : ตอกเข็มหล่อฐานราก คานคอดิน และตั้งเสาชั้นล่าง
  • ขั้นตอนที่ 2 : หล่อคานชั้นบน และตั้งหรือหล่อเสาสำหรับรับหลังคาชั้น 2
  • ขั้นตอนที่ 3 : มุงหลังคา ก่ออิฐผนัง ฉาบปูน ติดตั้งวงกบ ใส่ฝ้าเพดาน
  • ขั้นตอนที่ 4 : ปูวัสดุพื้น ติดตั้งประตู หน้าต่าง ติดตั้งระบบท่อน้ำ
  • ขั้นตอนที่ 5 : บุผนังกระเบื้อง ติดตั้งสุขภัณฑ์ ทาสี เดินสายไฟ ติดตั้งโคมไฟ
  • ขั้นตอนสุดท้าย : ตรวจสอบความถูกต้องเรียบร้อย อาจต้องเก็บรายละเอียดส่วนที่เหลือบ้างบางส่วน

การสร้างบ้านมีรายละเอียด ภายในแต่ละขั้นตอนค่อนข้างมาก ดังนั้นเจ้าของบ้านควรให้เวลาศึกษาข้อมูลดีๆ เพื่อที่จะได้ไม่เสียค่าใช้จ่าย และเสียเวลารื้อใหม่

9. การดูแบบบ้านและทำเรื่องขออนุญาตปลูกสร้างบ้าน

เป็นเจ้าของบ้านส่วนใหญ่ มักมีประสบการณ์ในการสร้างบ้านอยู่บ้าง แต่อาจจะไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งการสร้างบ้านนี้ เจ้าของบ้านต้องเป็นหลักในการตัดสินใจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องวัสดุอุปกรณ์การก่อสร้าง งบประมาณ หรือปัญหาอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างงานก่อสร้าง ดังนั้นเพื่อให้ความต้องการที่จะสื่อสารกับสถาปนิก วิศวกร หรือคนทำงานเป็นไปอย่างชัดเจน-มีความเข้าใจตรงกัน เจ้าของบ้านควรให้เวลาศึกษา ทำความเข้าใจแบบบ้านที่ต้องการ เพื่อเป็นพื้นฐานความรู้ระหว่างการพูดคุยวางแผน ทำให้เกิดความราบรื่นมากขึ้น

ซึ่งเอกสารที่ใช้ในการขออนุญาตปลูกสร้างบ้าน สามารถดำเนินการต่อสำนักงานเขตท้องถิ่นในพื้นที่ที่กำลังจะสร้างบ้านได้ เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันการสร้างบ้านที่ถูกต้อง มีมาตรฐาน ไม่สร้างผลกระทบต่อผู้อื่น โดยเอกสารที่เกี่ยวข้องมีดังนี้

  • -เอกสารคำขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคารหรือรื้อถอนอาคาร (ข.1)
  • -แบบแปลนแผนผังบ้าน
  • -หนังสือรับรองว่าเป็นผู้ออกแบบ สถาปนิก วิศวกร พร้อมสำเนาใบอนุญาต
  • -สำเนาโฉนดที่ดินพื้นที่จะก่อสร้าง
  • -สำเนาบัตรประชาชน หรือทะเบียนบ้านเจ้าของอาคาร

10. ดูผู้รับเหมาสร้างบ้านเคยทำการก่อสร้าง

สำหรับการเลือกผู้รับเหมาสร้างบ้าน การเลือกผู้ที่มาทำการก่อสร้างบ้าน ตามแบบที่ตอบโจทย์ งบไม่บานปลาย และสร้างบ้านแล้วได้บ้านอย่างที่ใจหวังนั้น โดยก่อนตัดสินใจเลือกผู้รับสร้างบ้าน ควรทำความรู้จักผู้รับเหมา เปรียบเทียบผลงาน ความน่าเชื่อถือ บริการก่อนและหลังสร้างบ้านเสร็จ การดูแลรักษา การตรวจสอบข้อบกพร่อง การรับประกันโครงสร้างหลังสร้างบ้าน ใบอนุญาตการดำเนินงานและมาตรฐาน โดยควรใช้เวลาพิจารณาอย่างค่อยเป็นค่อยไป และรอบคอบมากที่สุด เพื่อไม่ให้เกิดข้อยุ่งยากตามมาในภายหลัง

วิธีการเลือกซื้อวัสดุ ขั้นตอนการก่อสร้าง และดูแลรักษา

การเลือกซื้อวัสดุก่อสร้างจะต้องเลือกซื้อจากแหล่งวัสดุที่เชื่อถือได้ มีเจ้าหน้าที่ที่เชี่ยวชาญ ให้คำปรึกษา โดยเฉพาะ รวมถึงทีมผู้ออกแบบและรับเหมาก่อสร้างด้วยเช่นกัน เพราะหากได้ทีมงานที่ไม่มีคุณภาพ นอกจากจะทำให้บ้านที่ก่อสร้างไม่ได้มาตรฐานแล้ว ยังทำให้งบประมาณ ในการก่อสร้างบานปลายอีกด้วย

การดูแลรักษาบ้านปูนเปลือย

ควรทำการทาน้ำยาเคลือบผนังปูนเปลือย เคลือบผิวและต้านการดูดซึมของน้ำ ทุก ๆ 1-2 ปี เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวบ้านและผนังเกิดความชื้นและมีคราบสกปรกเกาะตามพื้นผิว

ทั้งนี้ ในการฉาบปูนจำเป็นต้องใช้เทคนิค และความชำนาญเฉพาะทาง ในการฉาบผนัง เพื่อป้องกันพื้นและผนังเกิดรอยแตกลายงาในอนาคต โดยควรเคลือบน้ำยาเคลือบผิวและต้านการดูดซึมน้ำบนพื้นผิวปูนฉาบทุกๆ 1-2 ปี เพื่อป้องกันความชื้น การเกิดเชื้อรา และคราบสกปรกต่างๆ บนพื้นผิวปูนจนเกิดเป็นรอยด่างที่ไม่สวยงาม

นอกเหนือจากการป้องกันผนังเกิดรอยแตกร้าวแล้ว สำหรับในการแต่งบ้านสไตล์ลอฟท์ยังควรจะระวังเรื่องการติดตั้งเดินสายไฟ หรือท่อประปาในบริเวณผนังด้วย เพราะว่าหากวางแผนไม่รอบคอบก็