ไอเดียบ้านงบน้อย

ไอเดียบ้านงบน้อย

ไอเดียบ้านงบน้อย สร้างบ้านงบน้อยง่ายกว่าที่คุณคิด

ไอเดียบ้านงบน้อย

ไอเดียบ้านงบน้อย  สร้างบ้านงบน้อยง่ายกว่าที่คุณคิด ก่อนอื่นสิ่งแรกที่ผู้อ่านต้องทำความเข้าใจ คือ คำว่า “งบน้อย” ในเนื้อหาชุดนี้ ไม่ได้หมายถึงการสร้างบ้านด้วยงบหลักหมื่นหลักแสน และไม่ได้หมายถึงการสร้างบ้านด้วยวัสดุเกรดต่ำ ในทางกลับกันเนื้อหาชุดนี้สามารถประยุกต์ใช้ได้กับบ้านทุก ๆ ระดับ ทั้งบ้านงบหลักแสนและ บ้าน หลายสิบล้านบาท

รวมทั้งยังสามารถใช้วัสดุเกรดคุณภาพหรือเกรดที่สูงขึ้นได้ตามแต่ไลฟ์สไตล์ของผู้เป็นเจ้าของบ้าน เพราะสิ่งที่ต้องการนำเสนอไม่ได้ต้องการให้ประหยัดงบก่อสร้าง แต่ต้องการบอกเล่าแนวทางในการออกแบบบ้านและการสร้างบ้านที่สามารถประหยัดงบก่อสร้างลงได้อย่างแท้จริง โดยเนื้อหาชุดนี้ ถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก เริ่มจากการออกแบบที่สามารถประหยัดงบไปได้ กระบวนการนี้เป็นส่วนสำคัญที่สุด ที่อาจหมายถึงการประหยัดงบลงไปได้ถึงหลักล้าน, ส่วนที่สองกระบวนการก่อสร้างที่สามารถเลือกวัสดุ โครงสร้างเพื่อการประหยัดงบลงได้ ส่วนที่สามเป็นการจัดการงานก่อสร้าง  ที่ต้องเป็นแบบแผนและเลือกผู้สร้างบ้านได้อย่างประหยัด

1. เปลี่ยนวิธีสร้างออกแบบบ้าน
ในกรณีนี้เป็นการพูดถึงการเก็บรายละเอียดในการสร้างบ้าน ซึ่งหากเจ้าของบ้านรายไหนกำลังคิดสร้างบ้านราคาถูก อาจเลือกปรับเปลี่ยนวิธีสร้างออกแบบบ้าน จากที่ต้องใช้ฝีมือความปราณีตของช่าง ซึ่งจำเป็นต้องเสียค่าแรงและวัสดุก่อสร้างค่อนข้างเยอะ มาปรับเป็นสิ่งจำเป็น อย่างในกรณีการเดินสายไฟ โดยปกติหากต้องการความเป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงาม มักจะเลือกวิธีร้อยสายไฟไปในท่อเหล็ก แล้วทาสีทับเพื่อไม่ให้เห็นสายไฟ ก็สามารถปรับเปลี่ยนมาเป็นเดินสายไฟลอย และใช้วิธีเก็บสายไฟมห้เรียบร้อยแทน หรือถ้าแบบบ้านเป็นชั้นเดียวแต่ต้องการยกสูง ซึ่งต้องใช้งบประมาณในการถมดินค่อนข้างมาก เพื่อไม่ให้บ้านทรุด อาจปรับเปลี่ยนมาเป็นเล่นระดับของบ้านแทน ก็จะทำให้ตัวบ้านดูโปร่งขึ้น โดยไม่ต้องเสียสตางค์เยอะ

2. เลือกสเปควัสดุที่จำเป็น
แน่นอนว่าเมื่อคิดสร้างบ้าน ทุกคนล้วนอยากให้ออกมาดี อยากเลือกใช้วัสดุเกรดพรีเมียมมาเป็นส่วนหนึ่งของบ้าน แน่นอนว่างบบานปลายแน่นอน ทางที่ดีหากต้องการสร้างบ้านราคาถูก ชนิดไม่ว่าแบบบ้านไหนก็อยู่ในราวๆ หลักแสน ด้วยวิธีเลือกวัสดุที่จำเป็น อย่างอะไรที่อยู่ด้านในบ้าน ที่ไม่จำเป็นต้องโชว์ความสวยงาม อย่างโซนซักล้างหลังบ้าน อาจเลือกใช้อาจเทปูนเปือยธรรมดา หรือใช้หินธรรมชาติมาตกแต่ง แทนการปูกระเบื้อง ก็จะช่วยค่าใช้จ่ายไปได้

3. เลือกสร้างบ้านให้เหมาะสมกับพื้นที่
สำหรับคนที่มีที่ดินของตัวเอง อยากจะมีแบบบ้านหลังใหญ่เต็มเนื้อที่ แนะนำว่าให้ยกเลิกความคิดนั้นไปก่อน เพราะหากต้องการสร้างบ้านราคาถูก อาจจะเลือกพื้นที่ในการสร้างบ้าน 2 ใน 4 ของพื้นที่พอ เนื้อที่ที่เหลือสามารถนำไปปลูกผักสวนครัว ทำเกษตรอินทรีย์ ยึดหลักความพอเพียง สร้างรายได้ให้ครอบครัวได้อีกด้วย ทั้งนี้การสร้างบ้านเต็มพื้นที่นอกจากจะไม่เหมาะสมแล้ว เปลืองงบประมาณแล้ว ยังทำให้ระบบถ่ายเทอากาศอากาศของบ้านไม่ดีเท่าที่ควรด้วย

4. แสง ลม คือหัวใจสำคัญของการสร้างบ้าน
การสร้างบ้านให้เย็น ถ่ายเทอากาศดี และดูโปร่งไม่มืดทึบ ตามหลักสไตล์ของแบบบ้านโมเดิร์นนั้น ไม่จำเป็นต้องลงทุนเลือกวัสดุช่วยให้บ้านเย็น คิดแผงโซลาเซลล์ให้สิ้นเปลืองเย็นแต่อย่างไร หลักการสร้างบ้านราคาถูก เพียงแค่รู้จักทิศทางลมและแสง ว่าควรหันทางไหน ซึ่งโดยปกติแล้วจะนิยมหันไปทางทิศเหนือและทิศใต้เป็นหลัก เนื่องจากเป็นทิศที่ไม่ได้รับแดดโดยตรง และมีลมพัดผ่านเข้าบ้านอยู่ตลอด

5. วาดผังแปลนบ้านตามความเหมาะสม
เมื่อคิดจะสร้างบ้านราคาถูก การวางผังแปลนบ้านถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ สืบเนื่องจากสามารถลดการสร้างสิ่งที่ไม่จำเป็นอย่างการต่อเติมเพิ่มได้ ดังนั้นการวาดแปลนบ้าน ไม่ว่าจะเป็นแบบบ้านใด ควรคำนึงถึงการใช้งานและความจำเป็นเป็นหลัก

6. เรื่องพื้น ช่วยลดงบประมาณบ้านได้เห็น ๆ
แน่นอนว่าเรื่องพื้นบ้าน เป็นปัจจัยอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดงบบานปลาย สืบเนื่องจากมีความสวยงาม และราคาแพงซ้อนอยู่ ทางที่ดีหากตั้งมั่นแน่วแน่จะสร้างบ้านราคาถูก จึงควรเปลี่ยนจากวัสดุอย่างกระเบื้อง ไม้ลามิเนต หรือแกรนิตโต้ มาเป็นปูนเปือยแทน ก็จะช่วยให้บ้านเย็น และดูเก๋ไก๋ไปอีกแบบ

7. ปรับเปลี่ยนผนังอิฐมอญเบา เป็นผนังเบา
สำหรับการสร้างบ้าน แน่นอนว่าการใช้ผนังอิฐมอญเบา ย่อมดีในเรื่องความแข็งแรง ทนทาน แต่อาจจะต้องเผชิญราคาวัสดุก่อสร้างที่ค่อนข้างสูงสักหน่อย เหตุนี้ใครที่กำลังสร้างบ้านราคาถูกอยู่ อาจเลือกใช้ผนังเบาอย่างยิปซั่มบอร์ดแทน ซึ่งนอกจากจะโดดเด่นเรื่องคุณภาพเทียบเท่ากับอิฐมอญเบาแล้ว ยังมีราคาย่อมเยาว์ด้วย

8. เลือกใช้วัสดุจากธรรมชาติ ในการสร้างบ้านราคาถูก
เรียกได้ว่าเป็นวิธีที่ใกล้ตัว และทุกคนสามารถทำได้กับการสร้างราคาถูก โดยเลือกใช้วัสดุจากธรรมชาติรอบตัวมาดัดแปลง ไม่ว่าจะเป็นไม้ไผ่ ฝางข้าว หลังคามุงจาก ล้วนแล้วมีราคาไม่แพง และยังมีคุณสมบัติดีเลิศ แถมยังทำให้บ้านสวย โดดเด่นอีกด้วย

9. DIY เฟอร์นิเจอร์เลือกใช้
เป็นขั้นตอนที่ค่อนข้างฟุ่มเฟือยเลยทีเดียว สำหรับการตกแต่งบ้านและเฟอร์นิเจอร์มาเป็นส่วนประกอบหลักในบ้าน แต่สำหรับการสร้างบ้านราคาถูก สามารถทำได้ เพียงหยิบจับวัสดุของเหลือใช้ อย่าง เศษไม้ ผ้า เบาะ ที่ชำรุด มาซ่อมแซมปรับปรุงให้กลายเป็นเฟอร์นิเจอร์ที่สวยงามได้ บ้านเดี่ยว

สร้างบ้านงบประมาณน้อย แต่ประโยชน์ใช้สอยมากมาย

ไอเดียบ้านงบน้อย

1. รู้ความต้องการอย่างแท้จริง

โดยทั่วไปการคำนวณค่าสร้างบ้านเบื้องต้น นิยมคำนวณด้วยค่าเฉลี่ยโดยนำพื้นที่ใช้สอยต่อตารางเมตร คูณกับค่าเฉลี่ยในการก่อสร้าง เช่น บ้านที่ใช้วัสดุทั่วไป (เกรดกลาง) ค่าก่อสร้างเฉลี่ยที่ 13,500 บาท/ตร.ม. เท่ากับว่าทุก ๆ ตารางเมตรคือต้นทุนที่ค่อย ๆ บานปลาย สำหรับบ้านเรือนทั่วไปโดยปกติมีพื้นที่ใช้สอยกว้าง จึงอาจมองเห็นความสำคัญของพื้นที่ไม่ชัดเจนนัก ให้ผู้อ่านนึกถึงห้องคอนโดสมัยใหม่โดยเฉพาะคอนโดสตูดิโอ ที่มีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 30 ตร.ม. เท่านั้น แต่กลับสามารถอยู่อาศัยได้จริง มีครบทั้งห้องนอน ห้องน้ำ ห้องครัวและห้องนั่งเล่น ที่เอ่ยมาเช่นนี้ไม่ได้หมายถึงให้ออกแบบบ้านเล็กเท่าห้องคอนโดนะครับ เพียงต้องการสื่อให้เห็นถึงการใช้พื้นที่อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด

สิ่งที่จำเป็นที่สุดก่อนสร้างบ้านจึงไม่ใช่การมองหาผู้รับเหมาหรือนักออกแบบแต่เป็นการหาความต้องการในการใช้งานอย่างแท้จริง ยิ่งผู้อ่านสามารถเจาะจงความต้องการได้ชัดเจนมากเท่าไหร่ งบประมาณการก่อสร้างจะยิ่งถูกลงกว่าเดิมมาก เพราะพื้นที่ใช้สอยที่ถูกสร้างไปอย่างไร้ประโยชน์ ล้วนเป็นต้นทุนที่สูญเสียไป แต่หากทุก ๆ พื้นที่ได้ใช้งานจริงเป็นประจำทุกวัน นั่นก็เท่ากับว่า อิฐทุกก้อน ปูนทุกกระสอบ ค่าก่อสร้างทุก ๆ ส่วน ล้วนจ่ายไปอย่างคุ้มค่า เพราะสิ่งที่แพงที่สุดคือสิ่งที่ซื้อมาแล้วไม่ได้ใช้

2. ประโยชน์ที่มีมากกว่าหนึ่ง

เมื่อทราบโจทย์ความต้องการอย่างเห็นได้ชัดแล้ว โจทย์เหล่านี้สามารถนำมาคำนวณหาพื้นที่ใช้สอยเป็นตารางเมตรได้ ทุก ๆ พื้นที่ใช้สอยก่อให้เกิดการใช้งานจริง แต่หากผู้อ่านต้องการให้เกิดความคุ้มค่ามากกว่าเดิม จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาแนวทางให้พื้นที่แต่ละตารางเมตรมีประโยชน์มากกว่า 1 การใช้งาน

3. เน้นเฉพาะที่จำเป็น

การออกแบบบ้านแบบมินิมอลเป็นที่นิยมสูงมาก ในประเทศญี่ปุ่น หัวใจสำคัญของมินิมอลคือ น้อย แต่ มาก มีเท่าที่จำเป็นเพื่อให้ข้าวของทุก ๆ ชิ้นเกิดความคุ้มค่าในการใช้งานมากที่สุด ให้ผู้อ่านนึกถึงข้าวของไม่จำเป็นที่เรามีอยู่ในทุก ๆ วันนี้ว่า มีอะไรบ้างที่ไม่ได้เกิดประโยชน์ต่อการใช้งาน อาทิ เสื้อผ้าที่ถูกเก็บไว้ในตู้จนลืมไปแล้วว่ามี, กระเป๋าที่เป็นได้เพียงของสะสม, จาน ชาม ที่ถูกเก็บไว้ในห้องเก็บของแทบไม่ได้หยิบมาใช้, หนังสือในตู้ที่เป็นได้เพียงกระดาษเก็บฝุ่น เผลอ ๆ บางเล่มซื้อมายังไม่ได้อ่านเลย

สิ่งที่มีอยู่แต่คุณค่าจริงแท้กลับไม่มี สิ่งเหล่านั้นไม่ต่างอะไรกับการไม่มีอยู่” เพราะคุณค่าที่แท้จริงของสิ่งของคือการได้หยิบมาใช้งาน วิธีการที่ดีที่สุดที่จะจัดการกับสิ่งของเหล่านี้ คือ นำไปทิ้ง นำไปขายต่อมือสองหรือบริจาคให้กับผู้ที่ต้องการใช้มัน หลังจากคัดแยกสิ่งเหล่านี้ออกไปจากบ้านของเรา เราจะเห็นได้เด่นชัดว่า บ้านที่เคยคับแคบกลับกว้างกว่าปกติ

ผู้อ่านอาจเริ่มสงสัยว่า หัวข้อนี้เกี่ยวอะไรกับการประหยัดงบสร้างบ้าน  ต้องขอย้อนกลับไปที่หัวข้อแรก ในเนื้อหาข้างต้นบอกไว้ว่า ทุก ๆ ตารางเมตรคือต้นทุนการก่อสร้าง นั่นก็เท่ากับว่า หากผู้อ่านใช้พื้นที่ 20 ตร.ม. สำหรับจัดเก็บสิ่งของที่ไม่จำเป็น ที่ถูกซ่อนตัวไว้ในตู้, ห้องเก็บของ, ห้องครัว นั่นก็เท่ากับว่าจะต้องเสียเงินค่าสร้างบ้านโดยเปล่าประโยชน์มากถึง 2.7 แสนบาท ในทางกลับกันหากผู้อ่านสามารถเฟ้นหาความจำเป็นต่าง ๆ ได้ชัดเจน งบ 2.7 แสนบาท คือเงินที่ประหยัดลงไปได้

ยิ่งไปกว่านั้น นอกจากค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างแล้วยังมีค่าใช้จ่ายของที่ดินที่มีมูลค่าสูงมาก ข้อดีของการเฟ้นหาความต้องการในการใช้งานเฉพาะที่จำเป็น จะช่วยให้พื้นที่ใช้สอยของบ้านลดลง ซึ่งจะส่งผลให้ใช้ที่ดินน้อยลง ต้นทุนในการซื้อที่ดินถูกลงอีกด้วย