บ้านทรงกล่อง

บ้านทรงกล่อง

บ้านทรงกล่อง

บ้านทรงกล่อง

บ้านทรงกล่อง ที่หลบภัยจากความวุ่นวายของเมือง คำนี้ดูจะเป็นคำนิยามใหม่ๆ ของบ้านที่เราเริ่มได้ยินกันบ่อยขึ้น ต้องยอมรับว่าผู้คนมากมายที่ขวักไขว่อยู่ในสังคมที่เร่งรีบนั้น มีทั้งคนที่ชอบและคนที่ไม่ชอบ สำหรับคนที่อยากหลีกหนีจากความวุ่นวายและมีงบประมาณ การเลือกขยับขยายออกมาสร้างบ้านห่างจากเมืองเล็กน้อย

อาจเดินทางไกลขึ้นหน่อย แต่เมื่อกลับถึงบ้านแล้วสัมผัสกับความสงบ ผ่อนคลาย มีพื้นที่ให้เดินเล่น เป็นสิ่งที่คุ้มค่ากับการแลกกับความไม่สะดวกบางอย่าง เนื้อหานี้ ก็มีบ้านแบบที่ว่า ดูจากภายนอกเป็นส่วนตัวมิดชิด แต่ภายในเปิดกว้างใช้ชีวิตเต็มที่แบบไม่ต้องห่วงสายตาใคร ที่พักชุมพรติดทะเล

บ้านทรงกล่องไล่ระดับบนเนิน

บ้านหลังนี้ชื่อโปรเจ็ค LP House มีพื้นที่ใช้สอยกว่า 557 ตารางเมตร ตั้งอยู่ภายในเซาเปาโล ประเทศบราซิล บนที่ดินที่หันหน้าไปทางป่าพื้นเมืองที่อุดมสมบูรณ์เขียวขจี จึงได้รับการออกแบบเพื่อให้สามารถพิจารณามุมมองนี้ได้จากทุกสภาพแวดล้อม ประกอบกับไซต์มีลักษณะเป็นเนินขึ้นไป นักออกแบบต้องแก้ปัญหาเกี่ยวกับเทคนิคการก่อสร้างโดยไม่ต้องปรับหน้าดินให้ราบเรียบ ซึ่งดูเหมือนจะเป็นจุดด้อยแต่สถาปนิกกลับใส่ความคิดสร้างสรรค์ให้บ้านออกมาลงตัวและใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีได้สูงสุด

บ้านทรงกล่อง

จากด้านหนึ่งของตัวบ้านขยับถอยเข้าไปค่อนข้างไกลจากถนน ที่ว่างด้านหน้าจึงเป็นเสมือนกันชนระหว่างบ้านกับชุมชน เพิ่มความรู้สึกปลอดภัยในบ้านที่ไม่มีรั้วรอบขอบชิด ด้วยการทำบ้านทรงกล่องที่ค่อนข้างปิด แต่เป็นฟาซาดที่สามารถเปิดออกได้ ทำให้มีความยืดหยุ่นในการใช้งานมากขึ้น และด้วยที่ดินที่เป็นเนินไล่ระดับ สถาปนิกจึงออกแบบตัวบ้านให้ล้อกันไป คือ ค่อย ๆ ไต่ขึ้นไปแล้วใช้วิธรยกตัวบ้านให้เท่ากัน ในด้านที่พื้นที่ต่ำกว่าจะมองเห็นเป็นเหมือนบ้านกำลังลอยตัว โดยมีสเต็ปทางเดินคอนกรีตช่วยนำสายตาขึ้นไปช่วงกลางระหว่างอาคารบ้านโมเดิร์นทรอปิคอล

สเต็ปทางเดินคอนกรีตที่ต่อเนื่องมาเป็นสะพานทางเดินไม้ ทำให้รู้สึกถึงความอ่อนโยนและเป็นธรรมชาติ เหนือทางเดินนี้เป็นโครงสร้างไม้ติดกระจกใสผนังด้านข้างก็เช่นกัน จึงเดินไปพร้อมกับชมสวนที่จัดไว้อย่างสวยงามขนาบสองข้างระหว่างทางไปด้วยอย่างรื่นรมย์

จุดเริ่มต้นในการใส่ลูกเล่นปริมาตรบ้านที่ลดหลั่นกัน จะเห็นได้จากการแยกกันของพื้นที่ส่วนตัวและส่วนรวม กล่องที่ 1 และ 2 ที่ถูกคั่นด้วยสวนจะเป็นส่วนของพื้นที่สาธารณะ ประกอบด้วย ห้องนั่งเล่น ห้องทานข้าว ห้องครัว ห้องใช้งานอเนกประสงค์  ส่วนกล่องที่สามซึ่งมีห้องนอนชั้นจะอยู่ชั้นบน ซึ่งสามารถเข้าถึงพื้นที่สีเขียวบนหลังคาด้ด้านหนึ่งและมองเห็นทิวทัศน์ของป่าอีกด้านหนึ่ง ในการรวมตัวของบ้านสามกล่องผ่านแกนแนวตั้งที่จัดระเบียบการไหลเวียนได้ต่อเนื่องและลื่นไหล

การตกแต่งทั้งภายนอกและภายในบ้าน เลือกใช้องค์ประกอบทางธรรมชาติ เช่น เสาคอนกรีตและไม้ Freijó ที่ใช้ในการทำแผงฟาซาดปิดหน้าบ้าน และไม้ชนิดอื่นๆ ในการทำประตู หน้าต่าง เฟอร์นิเจอร์บิลท์อิน นำเสนอความเรียบง่ายของเส้นสาย และความเคารพต่อภาษาสถาปัตยกรรมของโครงการ ที่อยากให้บ้านดูเป็นส่วนหนึ่งของบริบทแวดล้อมได้มากที่สุด

บ้านทรงกล่อง

ทั้งนี้สิ่งที่เป็นจุดโดเด่นหนึ่งของโครงการนี้ อยู่ที่การออกแบบช่องเปิดขนาดใหญ่ที่เปิดออกได้จนสุด ทำให้เกิดบ้านดูโปร่ง เบา อิสระเหมือนไร้ผนัง ทั้งยังเป็นแกนหลักของการระบายอากาศและแสงธรรมชาติ รวมถึงเป็นวิธีการเบลอขอบเขต ให้เกิดการผสมผสานอย่างลงตัวระหว่างพื้นที่ทางสังคมในบ้าน (indoor) สระว่ายน้ำ และสวน (outdoor)

บ้าน LP แวดล้อมด้วยความเขียวขจีของทั้งป่าไม้และภูมิทัศน์ที่ปลูกสร้าง ให้สัมผัสกับธรรมชาติได้ในทุกระดับของบ้าน ไม่ว่าจะเป็นชั้นล่างที่มีวิวสวน สระ ที่ทำขึ้นมาใหม่ในบริเวณบ้าน หรือจะขึ้นไปนั่งห้อยเท้าบนดาดฟ้ารับวิสัยทัศน์ของท้องฟ้า ทิวไม้ที่กว้างขึ้นและไกลออกไปได้อย่างดี

บ้านสไตล์โมเดิร์นในปัจจุบันนิยมทำประตูบ้านเป็นบานกระจกขนาดใหญ่ เพื่อให้บ้านเปิดผนังให้กว้างรับแสงธรรมชาติ ลม และวิว ซึ่งการจะทำแบบนั้นได้ต้องจัดการออกแบบผนัง free facade คือผนังด้านนอกไม่จำเป็นต้องรับน้ำหนัก แต่เปลี่ยนมาใช้ตัวเสารับน้ำหนักแทน ประตูกระจกจึงสามารถเปิดเลื่อนได้อิสระมากขึ้น แผนผังพื้นที่ใช้สอยภายในยังโปร่งโล่งเชื่อมต่อเป็นสเปซขนาดใหญ่ (free plan)  นอกจากนี้ยังทำหลังคาแบบแบน (flat slab) ใช้ประโยชน์จากหลังคาทำ roof garden มี function เป็นสวน-ดาดฟ้า พื้นที่นั่งเล่นพักผ่อนกินลมชมวิวได้ ไม่ใช่แค่ทำหน้าที่ปกป้องบ้านจากสภาพแวดล้อมเท่านั้น

บ้านทรงกล่อง โชว์ศิลป์ดินเผากับสวนภายใน

โครงการบ้าน

Vadodara เป็นชื่อโครงการบ้านที่มีโจทย์หลักระบุว่าอยากให้มีสวนในบ้าน ซึ่งในบริบทที่ดินขนาบข้างด้วยโครงสร้างแนวราบติด ๆ กัน ดังนั้นการใช้ส่วนหน้าสำหรับการจัดสวนแบบดั้งเดิมจะทำให้เกิดปัญหาเรื่องความเป็นส่วนตัว ในขณะที่การผลักโครงสร้างด้านหลังเข้ามาแล้วเติมสวนในจุดนั้นก็จะทำให้มีพื้นที่ใช้น้อยลงมาก และด้านหลังยังติดกับพื้นที่จัดเก็บขยะดูไม่เหมาะทำสวน ดังนั้นนอกจากตัวอาคารที่จะต้องดีไซน์ให้เข้ากันได้กับบริบทแล้ว ยังต้องคำนึงถึงพื้นที่สีเขียว และความเป็นส่วนตัวด้วย

ภายนอกเป็นสามชั้นขนาดพื้นที่ 352 ตารางเมตร ฟาซาดเล่าเรื่องราวของบ้านผ่านรูปทรงสี่เหลี่ยม มีช่องว่างให้บ้านหายใจเป็นระยะ ตกแต่งด้วยสีและวัสดุที่เรียบง่ายอย่างอิฐและแผ่นกระเบื้งดินเผา ซึ่งมีการออกแบบจัดวางลวดลายที่หลากหลาย โดยกระเบื้องดินเผาจะถูกตัดแยกเป็นชิ้นเล็ก ๆ และประสานแต่ละชิ้นเข้าด้วยกันสร้างพื้นผิวผนังที่สื่อถึงงานฝีมือของช่างท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี แต่หากมองจากรอบนอกจะไม่เห็นว่าบ้านนี้ตอบโจทย์คนอยากมีสวนอย่างไร ซึ่งคำตอบจะอยู่ที่ภายในนั่นเอง

จากโถงทางเข้าบ้านจะพบกับมุมนั่งเล่น ที่ทักทายด้วยสีฟ้าอมเทาสบายตา ตัดด้วยสีไม้ธรรมชาติให้สัมผัสที่อบอุ่น ถัดเข้ามาข้างในจะเป็นห้องรับประทานอาหารแบบเปิดโล่งและห้องครัว ที่เน้นการเชื่อมต่อพื้นที่ ในระหว่างการเตรียมอาหารก็สามารถมองเห็นและมีปฏิสัมพันธ์กับส่วนอื่น ๆ ของบ้านได้ เป็นการตกแต่งที่ดูทันสมัยแบบครอบครัวสมัยใหม่

จุดที่น่าสนใจเริ่มต้นที่ “ลานส่วนตัว” แห่งแรก ที่อยู่นอกห้องนั่งเล่นที่ชั้นล่าง ซึ่งบางส่วนมีความสูง 10 ฟุตหลังคาติดตั้ง skylight เป็นการจำลองพื้นที่กลางแจ้งเข้ามาเก็บไว้ภายใน ครอบครัวสามารถก้าวออกไปและเพลิดเพลินกับบรรยากาศสวนที่มีชิงช้าและเก้าอี้  Manoj Patel Design Studio

โครงการบ้าน

กล่าวว่าการตัดสินใจสร้างพื้นที่สีเขียวในบ้านไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะต้องคิดถึงฝน แสงแดด และการระบายอากาศ แต่ทีมงานก็สามารถทำออกมาได้อย่างดี สมาชิกในบ้านจึงมีพื้นที่ชิล ๆ โดยไม่ต้องออกไปนอกตัวบ้าน สวนในบ้านนี้จึงส่งเสริมทั้งในแง่ความเป็นอยู่ สุขภาพ และความสบายทางอารมณ์

บ้านทรงกล่อง โชว์ศิลป์ดินเผากับสวนภายใน

เมื่อก้าวออกไปในทางเดินหรือห้องนอนในชั้นล่าง สมาชิกในบ้านจะได้เพลิดเพลินกับสนามหญ้าอีกด้านที่เป็นเหมือนโอเอซิสในใจกลาง ล้อมรอบบันไดเชิงพื้นที่สีเหลืองเอาไว้ เลย์เอาต์สร้างลำดับพื้นที่ที่สวยงามให้กับบ้านที่ไม่เหมือนใคร คอร์ทนี้มีความสูงสามชั้นเป็นโถงสูง Triple Space ที่เจาะเพดานทะลุถึงกันหมด 

ส่วนผนังตกแต่งจิตรกรรมฝาผนังศิลปะอิฐดินเหนียวขนาดใหญ่ มีแพทเทิร์นตารางวงกลมขนาดต่างๆ กระจายตัวเหมือนพลุที่กำลังสว่างวาบ ความสวยงามของวัสดุยิ่งเพิ่มขึ้นเมื่อผสมผสานกับไฟแขวน ที่สร้างบรรยากาศจากการเล่นแสงและเงาอยู่ในแกนกลางบ้านหลังพระอาทิตย์ตกดิน

การเจาะช่องว่างแล้วใส่ห้องต่าง ๆ ขนาบช่องว่างนี้เอาไว้ เพิ่มประสบการณ์ในการใช้ชีวิตใหม่ ๆ ให้กับผู้อยู่อาศัย เพราะแต่ละห้องตั้งอยู่รอบ ๆ ลานภายในจะมีหน้าต่าง สามารถเปิดออกมารับความสดชื่นจากต้นไม้ในคอร์ท หรือทักทายกันระหว่างชั้น สมาชิกในครอบครัวจึงรู้สึกเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันและมีปฏิสัมพันธ์ได้จากทุกระดับของตัวบ้าน ช่องว่างนี้ยังเป็นองคประกอบที่สอดคล้องกับสภาพอากาศแบบร้อนชื้นในอินเดีย เพราะเอื้อให้บ้านรับแสงพร้อมกับเปิดให้การไหลเวียนอากาศภายในทำได้ดี

โครงการบ้าน

สถาปนิกใช้ความระมัดระวังเพื่อสร้างแสงและการไหลเวียนอากาศให้ดีที่สุด อย่างโถงสูงสามชั้นนี้เมื่อแหงนดูวิวมุมสูงจะเห็น skylight โปร่งๆ ซึ่งติดตั้งแผ่นอะครีลิกและตะแกรงเหล็กดัดอยู่ด้านบน อะครีลิกจะยื่นออกไปเกินกำแพงเล็กน้อยเพื่อกันฝนไม่ให้ไหลย้อนเข้าบ้าน ขณะที่ตาข่ายอย่างดีจะป้องกันไม่ให้ยุงเข้ามา ลวดลายเหล็กช่วยกรองแสงที่ผ่านช่องว่างลงมา ทำให้บ้านไม่ได้รับความร้อนมากอย่างที่คิด ในระหว่างวันจะเห็นเอฟเฟกต์ของแสงและเงาที่เปลี่ยนไปช้าๆ ตามการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์

ในห้องน้ำมีอ่างจากุซซี่ที่เพิ่มความตื่นเต้นให้กับเจ้าของ ได้ใช้เวลาวันหยุดสุดสัปดาห์ที่ผ่อนคลายในห้องน้ำที่บรรยากาศเหมือนรีสอร์ทที่เงียบสงบช่วยให้ลืมความเมื่อยล้าที่พบมาทั้งวัน เพื่อเพิ่มองค์ประกอบที่สนุกสนานให้กับฉากหลังของการอาบน้ำ สถาปนิกตกแต่งผนังด้วยงานกระเบื้องดินเผาที่วางแพทเทิร์นเป็นลวดลายแปลกตา กระเบื้องพื้นผิวสีเข้มและกระเบื้องพื้นผิวสีฟ้าอ่อนและต้นไม้เขียวๆ ช่วยเติมเต็มองค์ประกอบให้ได้บรรยากาศแบบสปาได้อย่างสมบูรณ์แบบ

แนวคิดการออกแบบบ้านแบบเปิดโล่ง มีโถงสูง และคอร์ทยาร์ดในใจกลางที่มักมาพร้อมกับ skylight  เป็นความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในการจัดสรรให้คน และบ้านอยู่ร่วมกันในธรรมชาติอย่างใกล้ชิดขึ้น ในลักษณะที่เรียกว่า inside out- outside in สร้างพื้นที่ที่มองเข้าไปด้านในจะเห็นสนามหญ้าอยู่ใจกลางบ้าน จนบางครั้งแยกไม่ออกว่าส่วนไหนเป็นกลางแจ้งตรงไหนคือในร่ม การเชื่อมต่อความสูงในแนวตั้งที่มากกว่านี้ยังเป็นเทคนิคการทำความเย็นแบบพาสซีฟมีประโยชน์ ทำให้บ้านมรการไหลเวียนของอากาศได้ดี  click here : maxproperty.land