ซื้อบ้านหลังแรก

ซื้อบ้านหลังแรก

ซื้อบ้านหลังแรก การเริ่มต้นซื้อบ้าน ควรเริ่มอย่างไร

ซื้อบ้านหลังแรก

ซื้อบ้านหลังแรก การเริ่มต้นซื้อบ้าน ควรเริ่มอย่างไร การมีบ้านเป็นของตัวเอง เป็นความใฝ่ฝันของทุกคนที่ต้องการความมั่นคงและมีทรัพย์สินที่เราเป็นเจ้าของเองอย่างภูมิใจ แต่บ้านหลังหนี่งมูลค่ามันสูง เราไม่สามารถตัดสินใจซื้อได้ในระยะเวลาอันสั้น สิ่งที่ต้องคำนึงก่อนที่จะซ้อบ้านก็ต้องสำรวจกำลังทรัพย์ของตัวเองเองก่อนแล้วตั้งงบประมาณว่าบ้านที่เราพอจะเป็นเจ้าของได้นั้นควรราคาเท่าไหร่ดี ทำเลเป็นอย่างไร แบบบ้าน จำนวนสมาชิกในครอบครัว ฯลฯ

ดังนั้นก่อนที่จะตัดสินใจเลือกบ้านสักหลัง เราควรมีขั้นตอนและหลักการเลือกบ้าน ต้องพิจารณาอะไรบ้าง มาดูกันเลยค่ะ

  1. สำรวจฐานะทางการเงินของตัวเอง ถ้าเรามีเงินสดมากพอจะซื้อบ้านเงินสดก็ย่อมได้ ดีเสียอีกไม่เป็นภาระระยะยาว ไม่ต้องเสียดอกเบี้ย แต่น้อยคนนักที่จะมีเงินพอซื้อบ้านด้วยเงินสด ดังนั้นการขอสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยจึงเป็นทางออกในการจะได้มาซึ่งบ้านสักหลัง ดังนั้นผู้ที่อยากจะมีบ้านเป็นของตัวเองจะต้องยอมที่จะเป็นหนี้ระยะยาว เราจึงต้องมีความพร้อมในการชำระหนี้ทุกๆ เดือนเป็นเวลา 20 ปี ควรมีรายได้ที่มั่นคงและมากพอ คิดให้ถี่ถ้วนนะคะ ก่อนที่จะซื้อบ้าน
  2. ทำเลที่ตั้ง ตอนนี้บ้านในเมืองแพงมากกว่าชานเมือง บางคนที่คำนึงเรื่องทำเลเป็นหลักอาจจะเลือกอสังหาริมทรัพย์เป็นคอนโดมีเนียมที่มีความสะดวกสบายมากกว่า ส่วนถ้าใครอยากได้บ้านแต่อยู่ในทำเลใจกลางเมือง อาจจะต้องยอมจ่ายเงินที่มากกว่า หรือยอมซื้อเป็นบ้านมืองสองไป แต่ทั้งนี้ก็ต้อองพิจารณาวิถีชีวิตประจำวันมากที่สุดนะคะว่าสะดวกแบบไหน และเลือกให้เหมาะกับเรามากที่สุดค่ะ
  3. จำนวนสมาชิกในครอบครัว มีผลต่อขนาดและแบบบ้านที่จะเลือกนะคะ ถ้าอยู่คนเดียวหรือสองคน ข้อจำกัดอาจจะน้อยกว่าบ้านหลังไม่ใหญ่มาก หรืออยู่คอนโดก็สะดวกสบายดี แต่ถ้าอยู่เป็นครอบครัว การอยู่คอนโดหรือทาวน์เฮาส์หลังเล็กๆ อาจจะไม่ไม่เหมาะนัก ก็ต้องดูเป็นบ้านที่ใหญ่ขึ้นเพื่อให้สมาชิกในครอบครัวสามารถอาศัยอยู่ร่วมกันได้อย่างไม่แออัดเกินไปค่ะ
  4. ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมอื่นๆ ที่นอกจากตัวบ้าน เช่น ค่าซ่อมแซมต่อเติม ค่าตกแต่งต่างๆ ก่อนจะซื้อบ้านวางแผนให้ดีนะคะ ทางที่ดีควรตั้งงบในการตกแต่งซ่อมแซมภายในไว้ต่างหาก และกันเงินสำรองไว้เลยค่ะ

ขั้นตอนการเริ่มต้นซื้อบ้าน


เมื่อคิดสะระตะต่างๆ จนได้บ้านที่พึงใจแล้ว ทีนี้ก็มาถึงขั้นตอนที่จะได้มาซึ่งบ้านที่เราภาคภูมิใจกันแล้วค่ะ เพราะมันคือทรัพย์สินที่มีมูลค่าสูงสุดของเราแล้ว อยากได้บ้านหลังนี้จะต้องทำยังไง มาดูกันเลยค่ะ

  1. เลือกโครงการและบ้านหลังที่ชอบ เรื่องนี้ส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีปัญหา เพราะความชอบและความอยากได้อยู่เหนือสิ่งอื่นใด หลายคนซื้อบ้านโดยไม่คำนึงถึงทำเลและที่ตั้งเลย เอาเป็นว่าตัวบ้านอยู่ในงบประมาณที่พอจ่ายไหว ทำเลที่ตั้งอยู่ในเส้นทางการใช้ชีวิตประจำวัน
  2. จองและผ่อนดาวน์ เงินจอง คือ หากเราถูกใจทำเลบ้านหลังไหนก็ต้องจ่ายเงินเพื่อจองบ้านไว้ก่อน เป็นการรักษาสิทธิ์เพื่อไม่ให้คนอื่นซื้อบ้านตัดหน้าเรา เงินดาวน์ คือ เวลาซื้อบ้านจะต้องมีเงินก้อนใหญ่ๆ สักก้อนก่อนเพื่อวางเป็นเงินดาวน์ก่อน
  3. ทำเรื่องกู้ การยื่นเรื่องขอกู้เงินกับทางธนาคารสำหรับผู้ที่มีรายได้สูง เครดิตบูโร และเลือกบ้านราคาเหมาะสมกับความสามารถที่จะผ่อนไหว ก็ไม่จำเป็นต้องกังวลถึงเรื่องการกู้ตรงนี้เลย
  4. ดูงานก่อสร้างและตรวจรับบ้าน หากไม่ได้ซื้อบ้านกับโครงการที่สร้างเสร็จพร้อมขาย หลังจากจองและวางเงินดาวน์แล้ว อย่าลืมเข้าไปเช็ครายละเอียดต่างๆ ในบ้าน เพื่อที่จะได้บ้านที่มีคุณภาพ

ปัญหาสารพันที่จะทำให้กู้ซื้อบ้านไม่ผ่าน

  1. มีบัตรเครดิตหลายใบ เพราะสิ่งเหล่านี้จะส่งผลให้กำลังซื้อบ้านลดลง เนื่องจากธนาคารจะนำวงเงินจากบัตรเครดิตทุกใบมาคิดรวมเป็นภาระหนี้สินด้วย
  2. ผ่อนสินค้าผ่านบัตรเครดิตต่างๆ ถ้าบัตรเครดิตถูกใช้ในการผ่อนสินค้า ควรรีบผ่อนให้หมดแล้วปิดทันที
  3. ติดผ่อนรถยนต์คันแรก ส่วนใหญ่แล้วปัญหาของการกู้ไม่ผ่านคือ ผู้กู้มีภาระผ่อนรถยนต์คันแรกอยู่ ดังนั้นก่อนยื่นกู้ควร Pre-approve กับสถาบันการเงิน ว่าเรายังมีความสามารถในการชำหระหนี้ได้อีกหรือเปล่า
  4. ปัญหาการค้ำประกัน การค้ำประกันจะถูกธนาคารนำมาคิดเป็นภาระหนี้ด้วย ทำให้ความสามารถในการกู้ลดลง
  5. การไม่ออมเงิน การออมเงินเป็นการสร้างเครดิตที่ดีให้กับตัวเอง เพื่อที่ทางธนาคารจะมั่นใจได้ว่าเรามีวินัยทางการเงิน
  6. ปัญหาของผู้กู้ร่วม ถ้าคิดจะหาผู้กู้ร่วมควรจะหาผู้กู้ร่วมที่มีเครดิตดีๆ มีอาชีพมั่นคง เช่น ข้าราชการ , พนักงานรัฐวิสาหกิจ , แพทย์ , อัยการ ทำให้เรามีโอกาสได้รับสินเชื่อได้ง่ายมากขึ้น
  7. การเลือกซื้อที่อยู่อาศัยไม่เหมาะกับกำลังซื้อ ซึ่งการเลือกซื้อบ้านเราควรจะดูด้วยว่า มีความสามารถในการชำระหนี้ได้แค่ไหน ไม่ใช่ซื้อบ้านตามความอยากได้ เพราะถ้าผ่อนไม่ไหวจะเป็นปัญหาตามมา
  8. ระยะเวลาผ่อน ควรเลือกระยะเวลาในการผ่อนบ้านให้นานๆ ไว้ก่อน เช่น 25-30 ปี เพื่อไม่กระทบกับรายได้มากนัก แต่ถ้ามีรายได้เพิ่มขึ้นมีกำลังจ่ายเพิ่มขึ้น เราก็สามารถนำมาโปะได้
  9. ความไม่พร้อมในการซื้อบ้าน เพราะการซื้อบ้านจะทำให้เราเป็นหนี้ในระยะยาวมากกว่า 20 ปีขึ้นไป ถ้าคิดจะซื้อบ้านแล้วก็ต้องมั่นใจในกำลังผ่อนของตัวเองว่าไหวหรือไม่

ซื้อบ้านหลังแรกเลือกอย่างไรให้คุ้มค่า

1. ตรวจสอบระบบ HVAC ภายในตัวบ้าน

ระบบ HVAC (Heating, Ventilation and Air Conditioning) คือ การออกแบบกระบวนการวางระบบความร้อน ความเย็น และการระบายอากาศภายในอาคารบ้านเรือน ซึ่งมักจะพ่วงติดมากับการออกแบบสร้างบ้านตั้งแต่แรกอยู่แล้ว ดังนั้นคุณก็แค่มีหน้าที่ตรวจสอบระบบ HVAC ภายในบ้าน โดยดูว่าระบบ HVAC อยู่ในจุดที่จะระบายความร้อนภายในตัวบ้าน และรับลมจากธรรมชาติด้านนอกดีแค่ไหน หรือถ้าจะให้ชัวร์ เลือกบ้านที่มีหน้าต่างรอบบริเวณ และติดตั้งพัดลมระบายอากาศไว้ในจุดอับทุกที่ด้วยก็ดี

2. ดีไซน์ของตัวบ้าน และการตกแต่งภายใน

สำหรับใครที่จะเลือกซื้อบ้านแบบตกแต่งเสร็จ พร้อมเข้าอยู่ได้ทันที เรื่องการออกแบบบ้าน และการตกแต่งภายในคงเป็นประเด็นแรก ๆ ที่คุณจะคำนึงถึง  แต่เรื่องแบบนี้ก็ขึ้นอยู่กับสไตล์ของแต่ละคน ฉะนั้นเพียงแค่เห็นบ้านแล้วปิ๊ง ก็น่าจะพอให้ตัดสินใจเรื่องอื่น ๆ ได้ง่ายขึ้นเยอะแล้วล่ะ

3. พยายามอย่าคิดเล็กคิดน้อย

น่าจะเป็นเรื่องที่คาดเดาได้อยู่แล้วล่ะว่า เมื่อเราต้องการเลือกซื้อบ้านตกแต่งเสร็จ เราอาจจะมีปัญหากับเรื่องจุกจิก เช่น ไม่ถูกใจลายกระเบื้องห้องครัว เป็นต้น แต่พยายามอย่าคิดเล็กคิดน้อยในเรื่องนี้ดีกว่าค่ะ เพราะถ้าคุณรับไม่ได้จริง ๆ กับสไตล์การตกแต่งบางอย่างในบ้าน เราก็สามารถมาปรับเปลี่ยนได้เองในภายหลัง โดยแจ้งให้ทางโครงการทราบความต้องการของเรา และรอตัดสินใจในกระบวนการจัดการขั้นต่อไปดีกว่า

4. ใส่ใจเพื่อนบ้านรอบข้างด้วย

ต่อให้บ้านสวยเลิศเลอแค่ไหน แต่ถ้าสังคมรอบ ๆ บ้าน รวมทั้งเพื่อนบ้านของคุณไม่น่าประทับใจเท่าไร ก็อาจจะลดความสุขของคุณ และคนในครอบครัวได้เช่นกัน ดังนั้นก่อนตัดสินใจเลือกซื้อบ้านสักหลัง ลองสืบข้อมูลของเพื่อนบ้าน และสังคมโดยรอบบ้านของคุณเอาไว้เป็นประเด็นประกอบการตัดสินใจด้วยก็ดี

5. ความน่าเชื่อถือของโครงการ

ถึงแม้ปัจจุบันจะมีโครงการบ้านจัดสรรให้เลือกมากมาย พร้อมบริการติดต่อขอสินเชื่อให้เสร็จสรรพ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น คุณอย่าลืมตรวจสอบความน่าเชื่อถือของโครงการต่าง ๆ ให้ดี ทั้งชื่อเสียงของบริษัท เสียงตอบรับจากลูกบ้าน รวมถึงปัญหาต่าง ๆ ของโครงการก่อน ๆ เพื่อจะนำมาเป็นจุดสังเกตและพิจารณาเลือกบ้านหลังแรกของคุณให้ถี่ถ้วน

6. อย่าหลงคำเซลส์

ในการซื้อบ้านหลังแรก คุณอาจจะเก้ ๆ กัง ๆ ทำตัวไม่ถูก ไม่รู้จะสอบถามข้อมูลอะไรบ้าง และเมื่อได้เจอกับเซลส์ขายบ้านที่พูดจาหว่านล้อมเอาอกเอาใจ ก็อาจทำให้คุณเป็นปลื้มในการบริการ จนตัดสินใจวางมัดจำบ้านไปแบบง่าย ๆ และไม่ได้ตรวจสอบให้ละเอียดเนื่องจากไว้ใจเซลส์ ทางที่ดีคุณควรใจแข็งเอาไว้ก่อน สอบถามข้อมูลจากเซลส์ให้แน่ชัดแล้วกลับมานั่งคิด นอนคิดตัดสินใจที่บ้าน ไม่อย่างนั้นอาจจะได้บ้านที่ไม่ตรงตามความต้องการจนเสียเงินจองไปฟรี ๆ

7. เช็กเครดิตเรื่องการเงินดีหรือยัง

แน่นอนว่าการซื้อบ้าน คุณจะต้องขอกู้เงินหลักล้านกับธนาคาร ซึ่งมีกฎเกณฑ์ในการพิจารณาอยู่มากมาย ดังนั้นเพื่อให้แน่ใจว่าคุณจะไม่เสียเงินดาวน์บ้านไปฟรี ๆ ก็ควรเตรียมเครดิตให้พร้อม หรือลองตรวจสอบเครดิตบูโรของตัวเองดูก่อน ว่ามีโอกาสกู้ซื้อบ้านผ่านหรือไม่ ไม่อย่างนั้นหากกู้ไม่ผ่านเงินจองและเงินดาวน์ที่จ่ายไป อาจจะหายวับไปกับตาเลยล่ะ

ละในเมื่อใคร ๆ ก็อยากมีบ้านที่ไม่ใช่แค่ที่อยู่อาศัย แต่เป็นบ้านที่ให้ทั้งความอุ่นใจ สบายกายเมื่ออาศัยอยู่ เราก็ต้องพิจารณาเลือกซื้อบ้านกันอย่างรอบคอบที่สุบ้านเดี่ยว